เมนู

ประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ นี้เรียกว่ารูปขันธ์ เวทนาอย่างใด
อย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ใน
ที่ไกลหรือใกล้ นี้เรียกว่าวิญญาณขันธ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้
เรียกว่าขันธ์ 5.
[96] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานขันธ์ 5 เป็นไฉน ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็น
ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกล
หรือใกล้ เป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน นี้เรียกว่า
อุปาทานขันธ์คือรูป เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่างใด
อย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด
เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ เป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็น
ปัจจัยเเก่อุปาทาน นี้เรียกว่าอุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่าอุปาทานขันธ์ 5.
จบ ปัญจขันธสูตรที่ 6

อรรถกถาปัญจขันธสูตรที่ 6



ในปัญจขันธสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
รูปขันธ์เป็นกามาพจร ขันธ์ 4 เป็นไปในภูมิ 4 (กามาวจรภูมิ
รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ โลกุตตรภูมิ). บทว่า สาสวํ ได้แก่เป็นปัจจัย
แห่งอาสวะโดยเป็นอารมณ์. บทว่า อุปาทานียํ ได้แก่และเป็นปัจจัย
แก่อุปาทานอย่างนั้นเหมือนกัน. ก็ในข้อนี้มีอรรถแห่งคำดังต่อไปนี้

รูปชื่อว่า สาสวะ เพราะเป็นไปกับด้วยอาสวะทั้งหลายที่ทำอารมณ์
เป็นไป ชื่อว่า อุปาทานียะ เพราะพึงยึดมั่น. ในที่นี้ รูปขันธ์ท่านกล่าวว่า
เป็นกามาพจร ธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3 ที่เหลือ ท่านกล่าวด้วยอำนาจ
การประพฤติวิปัสสนา. ในที่นี้พึงทราบวินิจฉัยอย่างนี้ รูปจัดเข้าในขันธ์
ด้วยอรรถว่าเป็นกอง เวทนาเป็นต้นทั้งที่มีอาสวะทั้งที่ไม่มีอาสวะ จัดเข้า
ในอุปาทานขันธ์ ด้วยอรรถว่าเป็นกองธรรมที่มีอาสวะ ทั้งหมดจัดเข้าใน
ขันธ์ด้วยอรรถว่าเป็นกอง. แต่ในที่นี้ธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3 จัดเข้าใน
อุปาทานขันธ์ ด้วยอรรถว่าเป็นกองธรรมมีอาสวะ.
จบ อรรถกถาปัญจขันธสูตรที่ 6

7. โสณสูตรที่ 1



ว่าด้วยขันธ์ 5 มิใช่ของเรา



[97] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน
กลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์
ครั้งนั้นแล คฤหบดีบุตรชื่อโสณะ
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะ
คฤหบดีบุตรชื่อโสณะว่า ดูก่อนโสณะ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ย่อมพิจารณาเห็นว่า เราเป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา พิจารณา
เห็นว่า เราเป็นผู้เสมอเขา หรือพิจารณาเห็นว่า เราเป็นผู้เลวกว่าเขา
ด้วยรูปอันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ที่เป็นดังนี้
มิใช่อื่นไกล นอกจากการไม่เห็นธรรมตามความเป็นจริง ย่อมพิจารณา